top of page
ค้นหา

ต้องเคลื่อนที่ไปทิศทางไหน?

  • รูปภาพนักเขียน: rich Asachi
    rich Asachi
  • 2 ธ.ค. 2564
  • ยาว 1 นาที

นักฟุตบอลตาบอดทีมชาติไทย สร้างประวัติศาสตร์ด้วยการเอาชนะทีมชาติฝรั่งเศส 3-2


ในรอบจัดอันดับของพาราลิมปิก 2020 ที่โตเกียว พร้อมจบอันดับ 7 ในการแข่งขันพาราลิมปิกครั้งแรกของพวกเขาแน่นอนว่าด้วยความที่เป็นฟุตบอลของผู้พิการทางสายตา ทำให้นอกเหนือจากผู้รักษาประตูแล้ว นักเตะชุดนี้ทุกคน จะไม่มีใครมองเห็นได้เลย และเมื่อลงทำการแข่งขันก็จะถูกปิดตาแบบทึบ จนไม่อาจแม้แต่จะรับรู้ถึงความสว่างในสิ่งแวดล้อมรอบข้างได้ ในเมื่อพวกเขามองไม่เห็น


แล้วผู้เล่นเหล่านี้รู้ได้อย่างไรว่าต้องวิ่งหรือยิงไปในทิศทางไหน และหลบหลีกการปะทะได้อย่างไร โลกที่มืดบอด ลองหลับตาลงสัก 1 นาที จากนั้นให้ลองพยายามเดินคลำทางในความมืดมิด คุณจะได้พบกับความยากลำบาก ทั้งการพยายามหลบหลีกอุปสรรครอบตัว หรือควานหาทิศทางไปสู่เป้าหมาย นั่นเพราะเกือบตลอดทั้งชีวิตของคุณที่กำลังอ่านบทความนี้ ต่างมีดวงตาเป็นหนึ่งในประสาทสัมผัสทั้งห้า ที่คอยช่วยให้เรามองเห็น และรับรู้ความเป็นไปของสิ่งต่าง ๆ รอบตัวระหว่างที่เรากำลังลืมตาอยู่ แต่สำหรับผู้คนบางกลุ่ม ที่พวกเขาต้องเผชิญกับอาการตาบอดโดยกำเนิดเนื่องจากพันธุกรรม หรือสูญเสียการมองเห็นไปจากอุบัติเหตุ pochivkite.net โลกของเขานั้นจะแตกต่างจากเราไปอย่างสิ้นเชิง “เสียง” จึงเป็นดั่งดวงตานำทางของพวกเขา เพราะแม้ว่าคนตาบอดบางส่วนยังคงรับรู้ความสว่างของสิ่งแวดล้อมโดยรอบได้ แต่เมื่อสายตาไม่อาจมองเห็นรายละเอียดใด ๆ ได้ จึงทำให้พวกเขาต้องพึ่งพาประสาทสัมผัสที่เหลืออยู่แทนนั่นจึงเป็นที่มาของทฤษฎีที่ระบุว่า คนตาบอดสามารถฟังได้ดีกว่าคนหูดี


pochivkite.net

ซึ่งมีมูลความจริงอยู่ไม่น้อย เพราะพวกเขาจำเป็นต้องได้ยินรายละเอียดของเสียงที่มากกว่าเรา


ไม่ว่าจะเป็นเสียงก้าวเดินของฝีเท้า หรือเสียงของรถบนท้องถนน เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกชน ซึ่งคนที่มองเห็นได้ตามปกติ ก็เพียงใช้สายตามองและกะระยะแทนได้ โดยไม่จำเป็นต้องใส่ใจในเสียงที่ตัวเองได้ยิน มีงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยมอนทรีออล เมื่อปี 2012 ที่พบว่าเปลือกสมองส่วนการเห็น หรือ Visual Cortex ของคนตาบอด ได้ถูกปรับเปลี่ยนการใช้งาน เพื่อนำไปเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลจากการได้ยิน


และสัมผัส อันนำไปสู่การทำ “Echolocation” ที่คนตาบอดเหล่านี้ ใช้การสะท้อนของเสียงกระดกลิ้นหรือเสียงดีดนิ้ว เพื่อระบุตำแหน่งของวัตถุที่อยู่รอบตัว แบบเดียวกับการใช้เรดาร์และปล่อยโซนาร์ของสัตว์อย่างค้างคาวหรือโลมา คนตาบอดจำนวนมากใช้เทคนิคดังกล่าวได้ในชีวิตประจำวัน โดยที่ตัวเองไม่รู้ตัวถึงความสามารถพิเศษดังกล่าว และในบางราย พวกเขาเชี่ยวชาญการทำ “Echolocation” ระดับที่สามารถระบุระยะห่าง ขนาด ลักษณะ ไปจนถึงความหนาแน่นของวัตถุนั้น ๆ ได้ เพียงแค่การกระดกลิ้นไม่กี่ครั้งเท่านั้นเอง ซึ่งนี่คือปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้สนามฟุตบอลคนตาบอดมีรูปแบบอย่างที่เราเห็น และสิ่งนี้ช่วยให้บรรดานักเตะ สามารถหาตำแหน่งของลูกฟุตบอล เพื่อนร่วมทีม ไปจนถึงตำแหน่งของประตูได้เลย เสียงของฟุตบอล ส่วนมากแล้ว ฟุตบอลเป็นกีฬาที่มีเสียงเชียร์เป็นองค์ประกอบสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นสนามที่มีความจุระดับหลักหมื่นคน หรือสนามท้องถิ่นที่ต้องยืนมุงกันดู แต่สำหรับฟุตบอลของคนตาบอด ผู้ชมในสนามจะต้องไม่ส่งเสียงระหว่างที่นักเตะกำลังเล่นอยู่


หรือคือสามารถฉลองได้แค่ในช่วงที่บอลตาย ทำประตูได้ หรือช่วงพักครึ่งกับจบเกมแล้วเท่านั้น เพื่อไม่ให้ไปรบกวนการได้ยินของนักฟุตบอลในสนาม ด้วยผู้เล่นเพียง 5 คน จากจำนวน 11 ของในฟุตบอลปกติ กฎของฟุตบอลสำหรับคนตาบอดนั้น มีข้อแตกต่างจากฟุตบอลสนามใหญ่อยู่พอสมควร เช่น เตะ 2 ครึ่ง ครึ่งละ 25 นาที โดยหยุดเวลาทุกครั้งที่บอลตาย สนามกว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร มีบอร์ดข้างสนามช่วยกั้นไม่ให้บอลออก ไม่มีทุ่ม ไม่มีล้ำหน้า ผู้รักษาประตูห้ามออกนอกเขตประตูที่ยาว 5.82 เมตร กว้าง 2 เมตร (แต่เป็นบุคคลปกติได้ ไม่จำเป็นต้องพิการด้านใด ๆ เลย) ขนาดประตูใหญ่เท่าประตูของกีฬาฮอกกี้ (3.66 x 2.14 เมตร)

 
 
 

Comments


โพสต์: Blog2_Post
  • Facebook
  • Twitter
  • LinkedIn

©2021 by richermen. Proudly created with Wix.com

bottom of page